วิเคราะห์ตัวละคร
วิเคราะห์ตัวละคร
1. พระวิการมาทิตย์ มีปัญญาฉลาดแหลมคมมีความยิ่งใหญ่ในด้านต่างๆจุดอ่อนคือความหยิ่งทะนง จึงไม่อดทนเมื่อถูกเวตาลเสียดสีเยาะเย้ย เพื่อทดสอบปัญญาความอดกลั้น
พระวิกรมาทิตย์มีความเพียรพยายามไม่ย้อท้อ เมื่อพลั้งตอบปัญหาของเวตาลไป ก็ยอมที่จะกลับไปนำตัวเวตาล มีความกล้าหาญไม่เกรงอันตราย แม้เสด็จไปตามฝูงปีศาจ ทรงกล้าเผชิญอันตรายที่โยคีศานติศิลมุ่งหมายเอาชีวิตพระองค์
พระวิกรมาทิตย์มั่นคงในพระวาจาที่กระทำตอบแทนพ่อค้า(โยคีศานติศีล) ทรงรักษาวาจาในสัญญา แม้ทรงทราบดีว่าโยคีนั้นจะปองร้ายพระองค์
2. เวตาล ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง มีลักษณะช่างพูด มีความสามารถสูงในการใช้โวหารต่างๆนิทานเวตาลเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกที่เต็มไปด้วยโวหารเสียดสี เยาะเย้ย ถากถาง และน.ม.ส.
เป็นนักเขียนคนแรกของไทยที่ใช้โวหารนี้ และทรงใช้อย่างคมคายและเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน
เวตาลมีความเมตตาได้เตือนพระราชาให้ระลึกถึงคำที่อสูรปัถพีบาลเคยทูลไว้ ผู้ใดมุ่งจะฆ่าชีวิตพระองค์ พระองค์อาจตัดหัวผู้นั้นเสียก่อนได้โดยในคลองธรรม เวตาลบอกความจริงให้พระราชารู้ว่าพ่อค้าผลทับทิมคือโยคศานติศิล ซึ่งกระทำที่ริมแม่น้ำโคราวารี ได้ทูลพระราชาล่วงหน้าว่าโยคีจะลวงพระองค์ให้เคารพเทวรูปโดยอัษฎางคประณต และจะตัดเศียรพระองค์ในขณะที่เคารพ ทำให้พระวิกรมาทิตย์ตัดหัวโยคีแทน
3. โยคีศานติศีล เดิมตั้งใจจะบำเพ็ญพรตสร้างบารมีทำตบะในป่า นิ่งอยู่จนฝูงปลวกทำรังอยู่รอบตัว ต่อมาเมื่อมีนางแพศยานางหนึ่งมายั่วยวนโยคีกลับลืมตา ลืมความตั้งใจเดิมจนกระทั้งมีบุตรกับนาง ครั้นถูกนางล่อลวงมาปรากฎในวังตามที่นางอาสากับพระราชาไว้โยคีถูกผู้คนหัวเราะขบขันและเยาะเย้ยจึงโกรธถึงกับฆ่าบุตรของตน และตั้งใจจะฆ่าพระราชาแม้เมื่อพระราชาองค์ก่อนสิ้นพระชนม์แล้วก็ยังคิดฆ่าพระราชาองค์ต่อมาคือพระวิกรมาทิตย์ นับว่าโยคีเป็นคนอาฆาตพยาบาทรุนแรง
โยคีศานติศีลเป็นคนเจ้าเลห์ทุบาย หลอกลวงพระราชาให้หลงกล ด้วยการปลอมตัวเป็นพ่อค้านำทับทิมมาให้พระราชา ที่มีค่ามหาศาล และลวงให้พระราชาไปนำตัวเวตาลเพื่อทำพิธี มุ่งหมายจะเอาเลือดของพระราชาบูชานางทุรคาเพื่อตนได้เป็นใหญ่ในโลก